เรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Continuous Tense
Present Continuous Tense มีวิธีใช้ดังต่อไปนี้
ทบทวนรูปประโยค : Subject + is, am, are + Verb 1 เติม ing
เช่น
He is speaking.
I am reading.
They are writing.
A girl is dancing.
The boys are playing.
ถาม : การเติม ing ที่ท้ายกริยามีหลักเกณฑ์อย่างไร
ตอบ : มีหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) กริยาที่ลงท้ายด้วย e (กรณีไม่ออกเสียนงตัว e) ให้ตัด e ทิ้งเสียก่อน แล้วจึงเติม ing เช่น
Write
|
Writing
|
(แต่ written)
แปลว่า เขียน
|
Move
|
Moving
|
เคลื่อน
|
Live
|
Living
|
อยู่, อาศัย
|
Tremble
|
Trembling
|
สั่นสะท้าน
|
Argue
|
Arguing
|
โต้เถียง
|
Take
|
Taking
|
พาไป
|
(2) กริยาที่ลงท้ายด้วย ee ให้เติม ing ได้เลย ไม่ต้องมีการตัดอะไรทิ้ง เช่น
See
|
Seeing
|
เห็น
|
Agree
|
Agreeing
|
เห็นด้วย
|
Free
|
Freeing
|
ปล่อยเป็นอิสระ
|
(3) กริยาที่ลงท้ายด้วย ie ให้เปลี่ยน ie เป็น y เสียก่อนแล้วจึงเติม ing เช่น
Die
|
Dying
|
ตาย
|
Lie
|
Lying
|
โกหก
|
Tie
|
Tying
|
ผูก, มัด
|
(หมายเหตุ : Ski = Skiing หรือ Ski-ing = เล่นสกี)
(4) กริยาที่มีสระตัวเดียว ตัวสะกดตัวเดียว และเป็นพยางค์เดียว ให้เพิ่มตัวสะกดเข้ามาอีกตัวหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงเติม ing เช่น :
Stop
|
Stopping
|
หยุด
|
Run
|
Running
|
วิ่ง
|
Sit
|
Sitting
|
นั่ง
|
Get
|
Getting
|
ได้รับ
|
Dig
|
Digging
|
ขุด
|
Rob
|
Robbing
|
ปล้น
|
(5) คำกริยาที่มี 2 พยางค์ซึ่งออกเสียงหนัก (Stress) ที่พยางค์หลัง และพยางค์หลังมีสระตัวเดียว ตัวสะกดตัวเดียวให้เพิ่มตัวสะกดเข้ามาอีกตัวหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงเติม ing เช่น
Begin
|
Beginning
|
เริ่มต้น
|
Occur
|
Occurring
|
เกิดขึ้น
|
Refer
|
Referring
|
อ้างถึง
|
Offer
|
Offering
|
ยกให้, เสนอ
|
(6) คำกริยาที่มี 2 พยางค์ต่อไปนี้จะเพิ่มตัวสะกดเข้ามาแล้วจึงเติม ing (แบบอังกฤษ) หรือจะเติม ing เลย (แบบอเมริกัน) ก็ได้ ได้แก่
อังกฤษ : Travel -> Travelling = ท่องเที่ยว
Quarrel -> Quarrelling = ทะเลาะ
อเมริกัน : Travel -> Traveling = ท่องเที่ยว
Quarrel -> Quarreling = ทะเลาะ
ถาม : Present Continuous Tense ใช้เมื่อใด
ตอบ : ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำได้ดังต่อไปนี้
1)ใช้กับเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในขณะที่พูด และมักจะมีคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) now, at the present, at the moment, at the present time, these days (หมู่นี้) มาใช้ร่วมเสมอ เช่น
He is coming to the office now.
เขากำลังมาสู่ที่ทำงานเดี๋ยวนี้แล้ว
I am working with this company these days.
หมู่นี้ผมกำลังทำงานอยู่ที่กับบริษัทนี้
At the present time he is staying at the hotel.
เวลานี้เขากำลังพักอยู่ที่โรงแรม
2)ใช้กับการกระทำที่เกิดขึ้นในระยาว ซึ่งขณะที่พูดประโยคนี้ออกไปนั้น ไม่จำเป็นต้องกำลังกระทำสิ่งนั้นอยู่ก็ได้ แต่ที่แน่ๆ ก็คือในช่วงเวลาอันยาวจะทำสิ่งนั้นอยู่จริงๆ และมักจะมีคำบอกเวลาระยะยาวมากำกับไว้ ได้แก่ this week (สัปดาห์นี้) this month (เดือนนี้) this year (ปีนี้) etc. เช่น
My son is working hard this term.
เทอมนี้ลูกชายของผมกำลังเรียนหนังสืออย่างขะมักเขม้น
He is working with the Siam Motors Co., Ltd. This year.
เขากำลังทำงานอยู่กับบริษัทสยามกลการาจำกัดปีนี้
3)ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ซึ่งคาดว่าจะต้องเป็นเช่นนั้นแน่นอน มักใช้กับกริยาที่แสดงการเคลื่อนที่, เคลื่อนไหว และจะมีคำบอกเวลาเป็นอนาคตร่วมด้วยเสมอเช่น
Somdet is leaving for London next Sunday.
สมเด็จจะออกเดินทางไปลอนดอนวันอาทิตย์หน้า
I am going to Singapore on Friday.
ฉันจะไปสิงคโปร์วันศุกร์นี้แล้ว
We are moving into a new house tomorrow.
เราจะย้ายเข้าไปอยู่บ้านหลังใหม่วันพรุ่งนี้แล้ว
4)ถ้าประโยค Present Continuous Tense เชื่อมด้วย and (กรณีเป็น 2 ประโยค) ให้ตัดกริยา Verb to be ที่อยู่หลัง and ออกเสีย เช่น
The old man is smoking a cigarette and reading the newspaper.
ชายชราคนนั้นกำลังสูบบุหรี่และอ่านหนังสือพิมพ์
(ไม่นิยมใช้:………………..is smoking……….and is reading……….)
กริยาที่นำมาแต่งเป็น Continuous Tense ไม่ได้
ถาม : กริยา (Verb) ทุกตัวนำมาแต่งเป็น Present continuous Tense ได้หมดใช่หรือไม่
ตอบ : โดยปรกติแล้ว กริยา (Verb) ทุกตัวนำมาแต่งเป็น Present Continuous Tense ได้ทั้งนั้น แต่มีกริยาอยู่บางจำพวก บางตัวที่ไม่นิยมนำมาแต่งเป็น Present Continuous Tense ทั้งนี้ก็เพราะกริยาเหล่านี้มีภาวะหรืออาการที่บังคับไม่ได้ (ซึ่งมีความหมายเป็น Continuous อยู่ในตัวอยู่แล้ว) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1)กริยาที่แสดงอาการรับรู้ (Verb of Perception) ไม่นิยมนำมาแต่งใน Present Continuous Tense ได้แก่
See
|
เห็น
|
Hear
|
ได้ยิน
|
Feel
|
รู้สึก
|
Taste
|
มีรส
|
Smell
|
ได้กลิ่น
|
Etc.
|
2) กริยาที่แสดงภาวะของจิต (State of Mind), แสดงความรู้สึก (Feeling) แสดงความผูกพัน (Relationship) ไม่นิยมนำมาแต่งใน Present Continuous Tense ได้แก่
Know
|
รู้
|
Love
|
รัก
|
Understand
|
เข้าใจ
|
Hate
|
เกลียด
|
Believe
|
เชื่อ
|
Seem
|
ดูเหมือน
|
Belong
|
เป็นของ
|
Like
|
ชอบ
|
Agree
|
เห็นด้วย
|
Disagree
|
ไม่เห็นด้วย
|
Consider
|
พิจารณา
|
Notice
|
เห็น
|
Forget
|
ลืม
|
Remember
|
จำได้
|
Recall
|
ระลึก
|
Dislike
|
ไม่ชอบ
|
Detest
|
เกลียดชัง
|
Prefer
|
ชอบ
|
Trust
|
เชื่อใจ
|
Distrust
|
ไม่ไว้ใจ
|
Wish
|
ปรารถนา
|
Possess
|
เป็นเจ้าของ
|
Have
|
มี
|
Own
|
เป็นเจ้าของ
|
Appear
|
ปรากฏ
|
Differ
|
แตกต่าง
|
Depend
|
ขึ้นอยู่กับ
|
Deserve
|
สมควร
|
Refuse
|
ปฏิเสธ
|
Consist of
|
ประกอบไปด้วย
|
Contain
|
บรรจุ
|
Doubt
|
สงสัย
|
Mean
|
หมายถึง
|
Suppose
|
สมมติ
|
เช่น
I Know him very well. ผมรู้จักเขาดีมาก
(อย่าใช้ I am knowing him very well. ผมกำลังรู้จักเขาดีมาก)
I see that it is raining again.
ผมเห็นว่า (เข้าใจว่า) ฝนจะตกอีก
(อย่าใช้ I am seeing that……ผมกำลังเห็นว่า.......)
She loves her husband very much.
หล่อนรักสามีของหล่อนมาก
(อย่าใช้ She is loving her husband very much.)
They like rice and curry.
พวกเขาชอบข้าวราดแกง
(อย่าใช้ They are liking rice and curry.)
This car belongs to me.
รถยนต์คันี้เป็นของผม
(อย่าใช้ This car is belonging to me.)
Jim forgets my telephone number.
จิมลืมหมายเลยโทรศัพท์ของผม
(อย่าใช้ Jim is forgetting my telephone number.)
จริงอยู่อาจมีบางคนแย้งขึ้นมาว่า .......”เอ้....! อาจารย์ครับ กริยาที่กล่าวมานี้ ในภาษาไทยก็เห็นคนเขาพูดกันอยู่ถมเถไป เช่น พูดว่า “อย่าไปยุ่งกับเจ้าหล่อนคนนี้น่ะ เพราะผม “กำลังรัก” เธอจนลือมหูลืมตาไม่ขึ้นหมู่นี้” อะไรทำนองนี้ ผมก็ตอบคุณว่า.......” ภาษาไทยพูดได้ เพราะหลักภาษาไทยไม่ละเอียดลึกซึ่งเหมือนภาษาอังกฤษ แต่เหตุที่ภาษาอังกฤษพูดไม่ได้นั้น เพราะเจ้าของภาษาเห็นว่า กริยาพวกนี้มีภาวะอาการอยู่เหนือการบังคับได้ พูดให้ฟังง่ายขึ้น ก็คือ “พฤติกรรมของกริยาจำนพวกนี้ไม่สามารถแสดงการเคลื่อนไหว หรือหยุดนิ่งในเชิงรูปธรรมให้เห็นได้ว่าอย่างงั้นเถอะ”
ดังนั้นเมื่อแต่งใน Present Continuous Tense ไม่ได้ ก็ให้นำไปแต่งใน Present Simple Tense ตามกฎข้อที่ 7 ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว
อย่างไรก็ตาม ถ้ากริยาที่แสดงการรับรู้ แสดงภาวะของจิตใจ หรือแสดงความสัมพันธ์ผูกพันเหล่านี้ นำมาใช้ในความหมายอื่นคือ แปลผิดไปจากคำแปลที่แท้จริงของมัน ก็ใช้แต่งเป็น Present Continuous Tense ได้ เช่น
See ถ้าแปลว่า “พบ, ไปพบ, ไปส่ง” ก็แต่งเป็น Present Continuous Tense ได้ (ความหมายเดิมแปลว่า เห็น) เช่น
KuKrit is seeing Turng Seiew Ping tomorrow.
คึกฤทธิ์จะไปพบกับเติ้งเสี่ยวผิงวันพรุ่งนี้ (seeing=meeting)
We are seeing him off at Don Muang Airport.
พวกเราจะไปส่งเขาที่ท่าอากาศยานดอนเมือง (Seeing =saying goodbye)
Fell ถ้าแปลว่า “คลำหา” ก็แต่งเป็น Present Continuous Tense ได้ (ความหมายเดิมแปลว่า รู้สึก เช่น
He is feeling his way along the face of the cliff.
เขากำลังคลำหาทางไปตามผิวหน้าของหน้าผา (Feeling =groping)
The blind man was feeling his way along the road.
ชายผู้เสียตาคนนั้นกำลังคลำหาทางเดินไปตามถนน