Present Participle
Present Participle ได้แก่อะไรบ้าง ใช้ทำหน้าที่เป็นอะไรได้บ้าง ขอให้บอกมาโดยละเอียดว่าเป็นอย่างไร
Present Participle ได้แก่ “กริยาช่อง 1 เติม ing (หรือเท่ากับ Verb + ing) เช่น walking, dancing, cleaning, sleeping, working, writing, etc.” เวลานำไปใช้พูดหรือเขียน Present Participle ทำหน้าที่ได้ดังต่อไปนี้
1)เรียงตามหลัง Verb to be (ตำราเรียนบางเล่มเรียกว่า เป็นส่วนหนึ่งของ Tense) ทำให้ประโยคนั้นเป็น Continuous Tense เช่น
She is walking along the street.
หล่อนกำลังเดินไปตามถนน
He was sleeping under the tree.
เขากำลังนอนหลับอยู่ใต้ต้นไม้
They were eating rice indoor.
พวกเขากำลังทาข้าวอยุ่ในบ้าน
I have been working here for two hours.
ผมได้ทำงานอยู่ที่นี่มาแล้วเป็นเวลา 2 ชั่วโมง
She had been running there.
หล่อนได้กำลังวิ่งไปที่นั่นแล้ว
(Verb ที่เติม ing ทั้งหมดในประโยคเหล่านี้ เรียงตามหลัง Veb to be ฉะนั้น จึงทำให้ประโยคดังกล่าวเป็น Continuous Tense)
2)ใช้ตามหลัง Verb of Sensation (หรือ Perception) คือ กริยาที่แสดงความรู้สึกได้แก่ see, feel, hear, smell, watch, notice, observe เมื่อหมายถึง “การกระทำนั้น กำลัง ดำเนินอยู่” เช่น
I saw her coming here.
ผมเห็นเธอกำลังเดินมาที่นี่
She heard me shutting the window.
หล่อนได้ยินผม ปิดหน้าต่าง
The teacher watched us playing football.
ครูดูเราเล่นฟุตบอล
I noticed that man entering the shop.
ผมสังเกตเห็นชายคนนั้นเดินเข้าไปในร้านค้า
(Coming, shutting, playing และ entering เป็น Present Participle มาทำหน้าที่เป็นตัวขยาย Object เพื่อแสดงว่า การกระทำนั้นกำลังดำเนินอยู่
3)ใช้เป็น Adjective (คุณศัพท์) ประกอบนามได้ นั่นคือ Participle ที่ใช้อย่างคุณศัพท์ประกอบนาม อาจแยกได้เป็น 2 กรณีคือ
3.1 ใช้ประกอบข้างหน้านามนั้นได้โดยตรง (Attributive Use) เช่น
A boiling kettle is on the stove.
กาน้ำเดือดตั้งอยู่บนเตา
A crying boy is afraid of a standing dog.
เด็กที่ร้องไห้กลัวสุนัขที่ยืนอยู่
Don’t let the barking dog come in.
อย่าให้สุนัขที่เห่าอยู่นั้นเข้ามาข้างในน่ะ
(boiling, crying, standing, และ barking เป็น Present Participle นำมาใช้เป็นคุณศัพท์ประกอบข้างหน้านาม)
This story is very interesting.
เรื่องนี้น่าสนใจมาก
He is very good looking.
เขาเป็นคนรูปหล่อมาก
The daily news in disappointing.
ข่าวประจำวันนี้เป็นข่าวที่ผิดหวัง
(interesting, looking และ disappointing เป็น Present Participle นำมาใช้หลังกริยา is จึงเป็นครึ่งกิรยาครึ่งคุณศัพท์)
4)ใช้ Present Participle ขยายกรรมของกริยาต่อไปนี้ได้คือ (เฉพาะกริยาที่ยกมาแสดงนี้เท่านั้น) คือ find, keep, leave, catch, set, get, send, discover, bring, draw, imagine, paint, show, และ take โดยมีโครงสร้างดังนี้
Subject + Verb + Object + Present Participle เช่น
My friend kept me waiting the whole day.
เพื่อนของผมทำให้ผมต้องรอทั้งวัน
I get the clock going.
ผมทำนาฬิกาเรือนนี้ให้เดินได้
The telegram sent him hurrying to Korat.
มีโทรเลขส่งถึงเขาให้รีบไปโคราช
He left me standing at the hall.
เขาปล่อยทิ้งให้ผมยืนอยู่ที่ห้องประชุม
(waiting, going, hurrying และ standing เป็น Present Participle นำมาใช้ขยายกรรมของกริยาที่วางอยู่หน้า)
5)ใช้ Present Participle ตามหลัง Verb to have ที่ไปแสดงผล (Result) หรือประสบการณ์ (experience) และจะใช้กับ can’t หรือ won’t ก็ได้ที่มีความหมายว่า “อนุญาต (allow) เช่น
The doctor will soon have him going home.
คุณหมอคงจะอนุญาตให้เขากลับบ้านได้เร็วๆนี้
Doe Doksadao will have us all laughing.
เด๋อ ดอกสะเดา จะทำให้เราทุกคนหัวเราะ
The government can’t have you doing that.
รัฐบาลจะไม่ยอมให้คุณทำเช่นนั้น (เป็นอันขาด)
(going, laughing และ doing เป็น Present Participle นำมาให้ตามหลัง have และ can’t เพื่อแสดงผลและการอนุญาต)
6)ใช้ทำหน้าที่คล้ายๆกับ Adjective Clause วางหลังประธานในประโยค เช่น
The woman driving the car indicated that she was going left and she turned right.
(=The woman who was driving the car indicated….)
สตรีคนที่กำลังขับรถให้สัญญาณเลี้ยวซ้าย แต่แล้วก็เลี้ยวขวา
There are a lot of boys in the pool swimming.
(=There are a lot of boys in the pool who are swimming.)
มีเด็กหลายคนในสระกำลังว่ายน้ำอยู่
The man smoking a cigarette is my uncle.
(=The man who is smoking a cigarette is my uncle.)
ชายคนที่กำลังสูบบุหรี่เป็นลุงของผม
(driving, swimming และ smoking เป็น Present Participle ใช้ตามหลังขยายประธาน คล้ายๆ เป็น Adjective clause)
7)ใช้ทำหน้าที่ขยายความทั้งประโยคได้ (ซึ่งเมื่อดูให้ถ่องแท้แล้วทำหน้าที่คล้ายๆกับ Adverb) เช่น
General speaking, a runner is more tired than a walker.
กล่าวโดยทั่วไป คนวิ่งย่อมเหนื่อยกว่าคนเดิน
Talking of football, have you ever seen the Singaporean team play?
ว่ากันถึงเรื่องฟุตบอล คุณเคยเห็นทีมสิงคโปร์เล่นหรือยัง ?
Considering the condition as a whole, he is better off now than yesterday.
เมื่อคำนึงถึงสถานะทั่วไปโดยทั้งหมดแล้ว ขณะนี้เขาค่อยดีขึ้นกว่าเมื่อวานนี้
Strictly speaking, they have no right to be here.
ว่ากันอย่างจริงจังแล้ว พวกเขาไม่มีสิทธิอยู่ที่นี่
(speaking, talking, และ considering เป็น Present Participle นำมาใช้ขยายความทั้งหมด (ที่ตามหลังเสมือนหนึ่งเป็น Adverb)
8)ใช้ขยายกริยาตัวอื่นในลักษณะที่การกระทำนั้น กระทำพร้อมกันในเวลาเดียว เช่น
She stood waiting for you.
หล่อนยืนคอยคุณอยู่
They entered carrying the posters.
พวกเขาเดินถือโปสเตอร์เข้าไปข้างใน
The poor man sat asking for money.
ชายผู้น่าสงสารคนนั้นนั่งขอเงินอยู่
We stood watching the football match.
เรายืนดูการแข่งกีฬาฟุตบอล
(waiting, carrying, asking และ watching เป็น Present Participle นำมาใช้ทำหน้าที่ขยายกริยาตัวหน้าในลักษณะกระทำพร้อมกัน)
9)ใช้รวมประโยคทั้ง 2 (Complex Sentence) ให้เป็นประโยคเดียว (Simple Sentence) โดยอาศัย Participial Phrase (วลีส่วนดัดแปลงคำกริยา) ได้ ซึ่งมีหลักการวางรวมดังนี้
1. การกระทำใดเกิดขึ้นก่อนให้เปลี่ยนคำกริยาของการกระทำนั้นเป็น Present Participle
2. ตัวประธานของการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนให้ตัดออกเสีย
3. ข้อความของการกระทำที่เกิดขึ้นหลังคงไว้เหมือนเดิม
4. “ประธาน” ของทั้ง 2 ประโยคต้องเป็นคนเดียวกัน เช่น
ยังเป็น 2 ประโยคอยู่ : He crossed the street. He was knocked down by a car.
เขาเดินข้ามถนนม เขาถูกรถชน
รวมเป็นประโยคเดียว : Crossing the street, he was knocked down by a car.
ขณะที่กำลังข้ามถนน เขาถูกรถชน
ประโยคต่อไปนี้โดยเหตุผลเดียวกัน
I walked to the park. I saw a lovely show of daffodils.
ผมเดินไปสวนสาธารณะผมได้เห็นดอกแดฟฟอดีลสวยงาม
= walking to the park, I saw a lovely show of daffodils.
ขณะที่กำลังเดินไปยังสวนสาธารณะ ผมได้เห็นดอกแฟฟอดีลสวยงาม
He stood on the road. He saw a car accident.
เขายืนอยู่บนถนน เขาเห็นรถเกิดอุบัติเหตุ
= standing on the road, he saw a car accident.
ขณะที่กำลังยืนอยู่บนถนน เขาก็เห็นรถเกิดอุบัติเหตุ
(การข้าม, การเดินไป, และการยืนเกิดขึ้นก่อน เพราะฉะนั้นจึงแปลงเป็น Participial Phrase)
หมายเหตุ ถ้าประธานของ 2 ประโยคเป็นคนละตัว จะตัดประธานตัวใดตัวหนึ่งออกไม่ได้ แต่ให้เปลี่ยนกริยาที่เกิดก่อนหรือที่เป็นเหตุนั้นเป็น Present Participle (Present Participle ในที่นี้จึงถูกนำมาใช้อย่างอิสระ (Absolute) คือใช้คล้ายกับเป็นกริยาของปราน แต่ก็ไม่ใช้) เช่น
His mother was absent. He looked after the house.
= His mother being absent, he looked after the house.
เนื่องจากแม่เขาไม่อยู่ เขาจึงต้องเฝ้าบ้าน (แทนแม่)
The cinema was full. We went home.
= The cinema being full, we went home.
เนื่องจากภาพยนตร์ฉายจบแล้ว เราจึงกลับบ้าน
He studied hard. He could pass his examination.
= He studying hard, he could pass his examination.
เนื่องจากเขาเรียนอย่างขะมักเขม้น เขาจึงสอบไล่ได้
Present Participle ได้แก่อะไรบ้าง ใช้ทำหน้าที่เป็นอะไรได้บ้าง ขอให้บอกมาโดยละเอียดว่าเป็นอย่างไร
Present Participle ได้แก่ “กริยาช่อง 1 เติม ing (หรือเท่ากับ Verb + ing) เช่น walking, dancing, cleaning, sleeping, working, writing, etc.” เวลานำไปใช้พูดหรือเขียน Present Participle ทำหน้าที่ได้ดังต่อไปนี้
1)เรียงตามหลัง Verb to be (ตำราเรียนบางเล่มเรียกว่า เป็นส่วนหนึ่งของ Tense) ทำให้ประโยคนั้นเป็น Continuous Tense เช่น
She is walking along the street.
หล่อนกำลังเดินไปตามถนน
He was sleeping under the tree.
เขากำลังนอนหลับอยู่ใต้ต้นไม้
They were eating rice indoor.
พวกเขากำลังทาข้าวอยุ่ในบ้าน
I have been working here for two hours.
ผมได้ทำงานอยู่ที่นี่มาแล้วเป็นเวลา 2 ชั่วโมง
She had been running there.
หล่อนได้กำลังวิ่งไปที่นั่นแล้ว
(Verb ที่เติม ing ทั้งหมดในประโยคเหล่านี้ เรียงตามหลัง Veb to be ฉะนั้น จึงทำให้ประโยคดังกล่าวเป็น Continuous Tense)
2)ใช้ตามหลัง Verb of Sensation (หรือ Perception) คือ กริยาที่แสดงความรู้สึกได้แก่ see, feel, hear, smell, watch, notice, observe เมื่อหมายถึง “การกระทำนั้น กำลัง ดำเนินอยู่” เช่น
I saw her coming here.
ผมเห็นเธอกำลังเดินมาที่นี่
She heard me shutting the window.
หล่อนได้ยินผม ปิดหน้าต่าง
The teacher watched us playing football.
ครูดูเราเล่นฟุตบอล
I noticed that man entering the shop.
ผมสังเกตเห็นชายคนนั้นเดินเข้าไปในร้านค้า
(Coming, shutting, playing และ entering เป็น Present Participle มาทำหน้าที่เป็นตัวขยาย Object เพื่อแสดงว่า การกระทำนั้นกำลังดำเนินอยู่
3)ใช้เป็น Adjective (คุณศัพท์) ประกอบนามได้ นั่นคือ Participle ที่ใช้อย่างคุณศัพท์ประกอบนาม อาจแยกได้เป็น 2 กรณีคือ
3.1 ใช้ประกอบข้างหน้านามนั้นได้โดยตรง (Attributive Use) เช่น
A boiling kettle is on the stove.
กาน้ำเดือดตั้งอยู่บนเตา
A crying boy is afraid of a standing dog.
เด็กที่ร้องไห้กลัวสุนัขที่ยืนอยู่
Don’t let the barking dog come in.
อย่าให้สุนัขที่เห่าอยู่นั้นเข้ามาข้างในน่ะ
(boiling, crying, standing, และ barking เป็น Present Participle นำมาใช้เป็นคุณศัพท์ประกอบข้างหน้านาม)
This story is very interesting.
เรื่องนี้น่าสนใจมาก
He is very good looking.
เขาเป็นคนรูปหล่อมาก
The daily news in disappointing.
ข่าวประจำวันนี้เป็นข่าวที่ผิดหวัง
(interesting, looking และ disappointing เป็น Present Participle นำมาใช้หลังกริยา is จึงเป็นครึ่งกิรยาครึ่งคุณศัพท์)
4)ใช้ Present Participle ขยายกรรมของกริยาต่อไปนี้ได้คือ (เฉพาะกริยาที่ยกมาแสดงนี้เท่านั้น) คือ find, keep, leave, catch, set, get, send, discover, bring, draw, imagine, paint, show, และ take โดยมีโครงสร้างดังนี้
Subject + Verb + Object + Present Participle เช่น
My friend kept me waiting the whole day.
เพื่อนของผมทำให้ผมต้องรอทั้งวัน
I get the clock going.
ผมทำนาฬิกาเรือนนี้ให้เดินได้
The telegram sent him hurrying to Korat.
มีโทรเลขส่งถึงเขาให้รีบไปโคราช
He left me standing at the hall.
เขาปล่อยทิ้งให้ผมยืนอยู่ที่ห้องประชุม
(waiting, going, hurrying และ standing เป็น Present Participle นำมาใช้ขยายกรรมของกริยาที่วางอยู่หน้า)
5)ใช้ Present Participle ตามหลัง Verb to have ที่ไปแสดงผล (Result) หรือประสบการณ์ (experience) และจะใช้กับ can’t หรือ won’t ก็ได้ที่มีความหมายว่า “อนุญาต (allow) เช่น
The doctor will soon have him going home.
คุณหมอคงจะอนุญาตให้เขากลับบ้านได้เร็วๆนี้
Doe Doksadao will have us all laughing.
เด๋อ ดอกสะเดา จะทำให้เราทุกคนหัวเราะ
The government can’t have you doing that.
รัฐบาลจะไม่ยอมให้คุณทำเช่นนั้น (เป็นอันขาด)
(going, laughing และ doing เป็น Present Participle นำมาให้ตามหลัง have และ can’t เพื่อแสดงผลและการอนุญาต)
6)ใช้ทำหน้าที่คล้ายๆกับ Adjective Clause วางหลังประธานในประโยค เช่น
The woman driving the car indicated that she was going left and she turned right.
(=The woman who was driving the car indicated….)
สตรีคนที่กำลังขับรถให้สัญญาณเลี้ยวซ้าย แต่แล้วก็เลี้ยวขวา
There are a lot of boys in the pool swimming.
(=There are a lot of boys in the pool who are swimming.)
มีเด็กหลายคนในสระกำลังว่ายน้ำอยู่
The man smoking a cigarette is my uncle.
(=The man who is smoking a cigarette is my uncle.)
ชายคนที่กำลังสูบบุหรี่เป็นลุงของผม
(driving, swimming และ smoking เป็น Present Participle ใช้ตามหลังขยายประธาน คล้ายๆ เป็น Adjective clause)
7)ใช้ทำหน้าที่ขยายความทั้งประโยคได้ (ซึ่งเมื่อดูให้ถ่องแท้แล้วทำหน้าที่คล้ายๆกับ Adverb) เช่น
General speaking, a runner is more tired than a walker.
กล่าวโดยทั่วไป คนวิ่งย่อมเหนื่อยกว่าคนเดิน
Talking of football, have you ever seen the Singaporean team play?
ว่ากันถึงเรื่องฟุตบอล คุณเคยเห็นทีมสิงคโปร์เล่นหรือยัง ?
Considering the condition as a whole, he is better off now than yesterday.
เมื่อคำนึงถึงสถานะทั่วไปโดยทั้งหมดแล้ว ขณะนี้เขาค่อยดีขึ้นกว่าเมื่อวานนี้
Strictly speaking, they have no right to be here.
ว่ากันอย่างจริงจังแล้ว พวกเขาไม่มีสิทธิอยู่ที่นี่
(speaking, talking, และ considering เป็น Present Participle นำมาใช้ขยายความทั้งหมด (ที่ตามหลังเสมือนหนึ่งเป็น Adverb)
8)ใช้ขยายกริยาตัวอื่นในลักษณะที่การกระทำนั้น กระทำพร้อมกันในเวลาเดียว เช่น
She stood waiting for you.
หล่อนยืนคอยคุณอยู่
They entered carrying the posters.
พวกเขาเดินถือโปสเตอร์เข้าไปข้างใน
The poor man sat asking for money.
ชายผู้น่าสงสารคนนั้นนั่งขอเงินอยู่
We stood watching the football match.
เรายืนดูการแข่งกีฬาฟุตบอล
(waiting, carrying, asking และ watching เป็น Present Participle นำมาใช้ทำหน้าที่ขยายกริยาตัวหน้าในลักษณะกระทำพร้อมกัน)
9)ใช้รวมประโยคทั้ง 2 (Complex Sentence) ให้เป็นประโยคเดียว (Simple Sentence) โดยอาศัย Participial Phrase (วลีส่วนดัดแปลงคำกริยา) ได้ ซึ่งมีหลักการวางรวมดังนี้
1. การกระทำใดเกิดขึ้นก่อนให้เปลี่ยนคำกริยาของการกระทำนั้นเป็น Present Participle
2. ตัวประธานของการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนให้ตัดออกเสีย
3. ข้อความของการกระทำที่เกิดขึ้นหลังคงไว้เหมือนเดิม
4. “ประธาน” ของทั้ง 2 ประโยคต้องเป็นคนเดียวกัน เช่น
ยังเป็น 2 ประโยคอยู่ : He crossed the street. He was knocked down by a car.
เขาเดินข้ามถนนม เขาถูกรถชน
รวมเป็นประโยคเดียว : Crossing the street, he was knocked down by a car.
ขณะที่กำลังข้ามถนน เขาถูกรถชน
ประโยคต่อไปนี้โดยเหตุผลเดียวกัน
I walked to the park. I saw a lovely show of daffodils.
ผมเดินไปสวนสาธารณะผมได้เห็นดอกแดฟฟอดีลสวยงาม
= walking to the park, I saw a lovely show of daffodils.
ขณะที่กำลังเดินไปยังสวนสาธารณะ ผมได้เห็นดอกแฟฟอดีลสวยงาม
He stood on the road. He saw a car accident.
เขายืนอยู่บนถนน เขาเห็นรถเกิดอุบัติเหตุ
= standing on the road, he saw a car accident.
ขณะที่กำลังยืนอยู่บนถนน เขาก็เห็นรถเกิดอุบัติเหตุ
(การข้าม, การเดินไป, และการยืนเกิดขึ้นก่อน เพราะฉะนั้นจึงแปลงเป็น Participial Phrase)
หมายเหตุ ถ้าประธานของ 2 ประโยคเป็นคนละตัว จะตัดประธานตัวใดตัวหนึ่งออกไม่ได้ แต่ให้เปลี่ยนกริยาที่เกิดก่อนหรือที่เป็นเหตุนั้นเป็น Present Participle (Present Participle ในที่นี้จึงถูกนำมาใช้อย่างอิสระ (Absolute) คือใช้คล้ายกับเป็นกริยาของปราน แต่ก็ไม่ใช้) เช่น
His mother was absent. He looked after the house.
= His mother being absent, he looked after the house.
เนื่องจากแม่เขาไม่อยู่ เขาจึงต้องเฝ้าบ้าน (แทนแม่)
The cinema was full. We went home.
= The cinema being full, we went home.
เนื่องจากภาพยนตร์ฉายจบแล้ว เราจึงกลับบ้าน
He studied hard. He could pass his examination.
= He studying hard, he could pass his examination.
เนื่องจากเขาเรียนอย่างขะมักเขม้น เขาจึงสอบไล่ได้