เรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Punctuations ตอนที่ 3

เรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Punctuations ตอนที่ 3

เครื่องหมายวรรคตอนที่อยู่ภายในประโยค

(Internal Punctuation)


เครื่องหมายวรรคตอนที่อยู่ภายในประโยค (Internal punctuation) เท่าที่ปรากฏเห็นและนิยมใช้กันมากเวลานี้มีอยู่ 5 เครื่องหมายคือ

, comma

: colon

; semicolon

- hyphen (ขีดสั้น)

dash (ขีดยาว)


แต่ละเครื่องหมายมีรายละเอียดการใช้ดังต่อไปนี้



1. Comma (,)

เครื่องหมาย comma เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่ใช้มากที่สุดในบรรดาเครื่องหมายทั้งหมด ยากนักที่จะนำมากล่าวให้จบสิ้นหมดกระบวนความมันได้ แต่อย่างไรก็ตาม ณ ที่นี้จะได้กล่าวเฉพาะที่พบเห็นเป็นประจำและใช้กันบ่อยเท่านั้น ขอให้ทุกคนโปรดติดตามต่อไป นั่นคือ

1)ใช้ comma หลัง Verbal Phrase ในกรณีที่ Verbal Phrase นั้นวางอยู่หน้าประโยค เช่น
To do this properly, you must follow the instructions.

ในการทำสิ่งนี้ให้ถูกต้อง คุณจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ

Walking along the street, he saw an accident.

ขณะที่เดินไปตามถนนเขาเห็นอุบัติเหตุ

Frightened, the little boy ran out of the room.

เพราะตกใจ เด็กชายตัวเล็กๆ คนนั้นจึงวิ่งออกจากห้องไป

2)Subordinate Clause ใดทำหน้าที่เป็น Adverb และไปนำหน้า Main Clause ต้องตามด้วย comma หรือใส่ comma ทันที เช่น

When he finally arrived at 8 o’clock, the program was well underway.

ในที่สุดเมื่อเขามาถึงเวลา 8 นาฬิกา รายการก็ได้สิ้นสุดลงด้วยดี

As soon as he saw you, he ran away.

ทันทีที่เขาเห็นคุณ เขาก็วิ่งหนีไป

3)ใช้ comma เพื่อแยกคำนามที่เป็น Appositive และ Absolute Phrase ตอลดไป เช่น


Sombat, the painter, wants to go home next week.

สมบัติช่างทาสีต้องการกลับบ้านสัปดาห์หน้า

The sun having set, they kept working.

พระอาทิตย์ตกดินแล้ว เขาทั้งหลายก็ยังทำงานต่อไป

4)ใช้ comma แยกคำหรือวลีที่เป็นรายการต่างๆ ในประโยค เช่น

Today she wants to buy several things such as sugar, flour,salt, meat and vegetables.

วันนี้หล่อนต้องการซื้อข้าวของหลายอย่างเช่น น้ำตาล แป้ง เกลือ เนื้อและผัก

The Armed Forces are ever-alert on land, in the air, and on the sea.

กองทัพทุกแห่งเตรียมพร้อมทั้งภาคพื้นดิน บนท้องฟ้า และทางทะเล

5)ใช้ comma แยกข้อความที่เป็น non-defining clause ตลอดไป เช่น


Miss Suprani, who is our new teacher, is going to get married next month.

นางสาวสุปราณีซึ่งเป็นครูคนใหม่ของเราจะแต่งงานเดือนหน้านี้แล้ว

(who is our new teacher เป็น non-defining clause)

Rice, which is our main food, is rising in price.

ข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของเรากำลังมีราคาสูงขึ้น

(which is our main food เป็น non-defining clause)

6)ใช้ comma คั่น Compound Sentence ซึ่งเชื่อมด้วย and, or, but โดยเฉพาะที่เป็นประโยคยาวๆ เช่น


The shops were filled with beautiful things, but I had neither time to shop nor money to buy anything.

ร้านรวงต่างๆ มีข้าวของที่สวยๆ งามๆ อยู่เต็ม แต่ผมก็ไม่มีแม้แต่เวลาที่ชมร้าน หรือกระทั่งเงินที่จะซื้อสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ไม่มี

7)จำพวกคำที่กล่าวเติมขึ้นลอยๆ เช่น indeed, by the way, on the other hand, on the contrary, in fact of course, therefore, finally, meanwhile, etc. จะต้องใช้ comma เสมอ เพราะคำเหล่านี้เอ่ยขึ้นมาขัดจังหวะ main idea (ใจความ) ของประโยค เช่น


Indeed, he called up you twice this morning.

จริงซินะ เขาโทรมาหาคุณ 2 ครั้งเมื่อเช้านี้

John, by the way, received his degree last summer.

เออนี่, จอห์นได้รับปริญญาเมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมานี่เอง

She is, of course, the most industrious in her class.

ใช่แล้ว, เธอเป็นคนขยันมากที่สุดในชั้นของเธอ

Thong is in bad health; therefore, he cannot go to work as usual.

ทองมีสุขภาพไม่ค่อยดี ดังนั้นเขาจึงไม่สามารถไปทำงานได้ตามปกติ

8)ถ้าคำ Yes, No, Well หรือคำอื่นใดที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกันนี้นำหน้าประโยคต้องมี comma ตามหลังคำเหล่านี้เสมอ เช่น

Is it right? Yes, I think so.

ถูกต้องใช่ไหม? ครับ ผมคิดเช่นนั้น

Are you a detective? No, I am not.

คุณเป็นนักสืบหรือ? เปล่า ไม่ได้เป็น

“Well, she’ll go with you.”

ดีแล้ว ที่หล่อนจะไปกับคุณ

9)หลังคำเรียกขานต้องใส่ comma เสมอ ไม่ว่าคำเรียกขานนั้นจะอยู่ส่วนใดของประโยคก็ตาม เช่น


Robert, where were you born?

โรเบิร์ต คุณเกิดที่ไหน?

Did I remember to tell you, Smith, that you had a phone call?
สมิธ, ผมบอกคุณหรือเปล่าว่ามีโทรศัพท์ถึงคุณ?
Ladies and gentlemen, it is a privilege to speak to you.
ท่านผู้มีเกรียติทั้งหลาย, ผมรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาปราศรัยกับท่าน

10) ใช้ comma แยกข้อความที่แย้งกัน เช่น
His family has gone to New York, hot Los Angeles.

ครอบครัวของเขาไปนิวยอร์ค ไม่ใช่ลอสแองเจลีส

Our committee often meets in private, seldom in public.

คณะกรรมการของเรามักจะประชุมกันเป็นการภายใน ไม่ค่อยจะประชุมกันเป็นการทั่วไป (เท่าไรนัก)

11) ระหว่างนาม 2 อย่างต่อไปนี้ต้องใช้ comma แยกเสมอคือ ปีที่ตามหลังเดือน, ถนนกับเมือง,เมืองกับรัฐ (หรือประเทศ) เช่น

She was born on December 10, 1960.

หล่อนเกิดวันที่ 10 ธันวาคม 1960

He lives at 533 Silom Road, Bangkok.

เขาอยู่ที่บ้านเลขที่ 533 ถนนสีลม กรุงเทพฯ

Jo has one friend in Bangkok, Thailnad.

โจมีเพื่อนหนึ่งคนที่อยู่กรุงเทพฯ ประเทศไทย

12) ใช้ comma แยกข้อความระหว่างประโยคเลขนอก กับประโยคในเครื่องหมายคำพูดเสมอ เช่น

He said, “Come and see me any day you wish.”

เขาพูดว่า มาพบผมวันไหนก็ได้ที่คุณอยากมา

หรือ
“Do as you are told,” he said.

“ทำอย่างที่บอกนั่นแหละ” เขาพูด

13) ใช้ comma เมื่อใช้คำๆเดียวนั้นซ้ำกัน เพื่อป้องกันมิให้เกิดการสับสนแก่ผู้อ่าน

เช่น


Whatever happened, happened fast.

(ในตอนนั้น) ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นมันเกิดขึ้นรวดเร็วเหลือเกิน

He has been here a long, long time.

เขาได้มาอยู่ที่นี่เป็นเวลานานแล้วนานเล่า

14) คำหรือกลุ่มคำที่ละไว้ (omit) เพราะเห็นว่ามีลักษณะโครงสร้างเหมือนกับข้างหน้าที่กล่าวว่า ต้องใช้ comma เช่น

To err is human : to forgive, divine.

การทำผิดเป็นธรรมชาติของมนุษย์ (แต่) การให้อภัยเป็นเรื่องของพระเจ้า

Bangkok is in Thailand; London, in England; Paris, in France.

กรุงเทพฯ อยู่ในประเทศไทย ลอนดอนอยู่ในอังกฤษ ปารีสอยู่ในฝรั่งเศส

15) เมื่ออักษรย่อของปริญญาตั้งแต่ 2 ปริญญาขึ้นไป มาเขียนต่อท้ายชื่อคน เพื่อบอกวุฒิการศึกษา ต้องใช้ comma แยกเสมอ เช่น
Herry F. Smith M.A., Ph.D.

เฮนรี่ เอฟ สมิธ M.A., Ph.D.

Dr. Sathien Veerawat C.P.E., M.A., Ph.D.

ดร.เสถียร วีระวัฒน์ C.P.E., M.A., Ph.D.

อนึ่ง ชื่อรองต่อท้ายชื่อบุคคลก็ให้ใช้ comma แยกด้วย เช่น

สุ่มบทความภาษาอังกฤษจากบทความทั้งหมด