ปี 2560 พบเด็กและวัยรุ่นป่วยเป็นโรคติดเกมเพิ่มขึ้น 6 เท่าตัว ย้ำเร่งหาทางป้องกันแก้ไข เพราะเกมจะกลายเป็นต้นตอสำคัญของการป่วยโรคจิตเวชคนรุ่นใหม่
นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า ปัญหาการติดเกมของเด็กและวัยรุ่นไทยขณะนี้น่าเป็นห่วงมาก สังคมต้องช่วยกันแก้ไขป้องกันเรื่องนี้อย่างจริงจัง จากการวิเคราะห์สถานการณ์ของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ พบว่า ในปี 2560 มีเด็กป่วยเป็นโรคติดเกมรายใหม่เข้ารับการรักษารวมแล้ว 129 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ถึง 6 เท่าตัว จนถึงขณะนี้มีเด็กที่ป่วยและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคติดเกมรวม 429 ราย หรือพบได้ 1 ใน 3 ของเด็กป่วยทั้งหมด มากเป็นอันดับ 3 รองจากโรคสมาธิสั้น และปัญหาพฤติกรรมดื้อรั้นโดยพบในเด็กผู้ชายมากกว่าหญิง
อัตรา 7 ต่อ 1 อายุน้อยสุด 5 ขวบ มากสุด 17 ปี เด็กที่ป่วยใช้เวลาเล่นเกมเฉลี่ยวันละ 5 ชม.
อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าวถึงผลการศึกษาของทีมจิตแพทย์เด็กฯ ที่ตรวจรักษาเด็ก 6-17 ปี ที่ป่วยเป็นโรคติดเกมว่า จะพบร่วมกับโรคทางจิตเวชอื่นๆ ด้วยถึง 3-8 โรค มากที่สุดคือโรคสมาธิสั้น พบทุกวัย ร้อยละ 77 เด็กจะวู่วาม อดทนต่ำ อันดับ 2 โรคซึมเศร้า ร้อยละ 39 อันดับ 3 โรควิตกกังวล ร้อยละ 38 อันดับ 4 เด็กมีปัญหาการเรียนรู้ การเขียนการอ่านจะด้อยกว่าเด็กรุ่นเดียวกัน 2 ชั้นปี พบได้ร้อยละ 35 โดยในกลุ่มอายุ 13-17 ปี จะพบโรคทางจิตเวชร่วมมากถึง 8 โรค ได้แก่ สมาธิสั้น, ปัญหาการเรียนรู้, โรควิตกกังวลกลัวเข้าสังคม, โรคย้ำคิดย้ำทำ, ซึมเศร้า, โรคอารมณ์ 2 ขั้ว, โรคจิต, หวาดระแวง, และโรคลมชักด้วย
"การติดเกมจะขัดขวางพัฒนาการด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม เกิดผลเสียกับเด็กทั้งบุคลิกภาพ, ความคิด, การเรียน การทำงาน เป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก ทุกฝ่าย ทั้งครอบครัว โรงเรียน และสังคม ต้องเร่งป้องกันแก้ไขก่อนสายเกินแก้ มิฉะนั้น เด็กและเยาวชนไทยที่มีไอคิวดี อาจกลายเปนทรัพยากรบุคคลที่มีสมรรถนะเสื่อมถอยเรียนไม่ได้, และเกมจะกลายเป็นต้นตอสำคัญของการป่วยโรคจิตเวชคนรุ่นใหม่" อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
ด้าน พญ. วิมลรัตน์ วันเพ็ญ รอง ผอ. สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่าในปี 2559 คาดว่ามีเด็กไทยเข้าข่ายติดเกมส์แล้วแต่ยังไม่ถึงขั้นป่วยประมาณ 1.6 ล้านคน ผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาจากการเล่นเกมส์ออนไลน์พบว่า เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายตัวเอง, ทำร้ายพ่อแม่, ทำลายข้าวของ ร้อยละ 42 ไม่ไปโรงเรียน ร้อยละ 39 พยายามฆ่าตัวตาย ฆ่าเพื่อน พบร้อยละ 2 ที่รุนแรงคือหนีออกจากบ้านและออกจากการศึกษาภาคบังคับ เริ่มพบร้อยละ 4 สาเหตุหลักเกิดจากการเลี้ยงดูเด็กที่ไม่เหมาะสมของครอบครัว เช่น ขาดวินัย
ทั้งนี้ เด็กที่เป็นโรคติดเกมจะมีอาการสำคัญคือ เล่นเกมมาก หงุดหงิดถ้าไม่ได้เล่น มีปัญหาการเรียน ซึมเศร้า, กังวล, ก้าวร้าวไม่ฟังใคร, การดูแลรักษาจะใช้หลายวิธีร่วมกัน ทั้งใช้ยา การบำบัดจิตใจ พฤติกรรมบำบัดครอบครัวด้วย และติดตามเยี่ยมบ้าน ค่ารักษาโรคติดเกมขั้นต่ำประมาณ 50000 บาท จนถึง 250000 บาทต่อคนต่อปี ใช้เวลาการรักษานานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาป่วยด้วย
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า ปัญหาการติดเกมของเด็กและวัยรุ่นไทยขณะนี้น่าเป็นห่วงมาก สังคมต้องช่วยกันแก้ไขป้องกันเรื่องนี้อย่างจริงจัง จากการวิเคราะห์สถานการณ์ของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ พบว่า ในปี 2560 มีเด็กป่วยเป็นโรคติดเกมรายใหม่เข้ารับการรักษารวมแล้ว 129 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ถึง 6 เท่าตัว จนถึงขณะนี้มีเด็กที่ป่วยและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคติดเกมรวม 429 ราย หรือพบได้ 1 ใน 3 ของเด็กป่วยทั้งหมด มากเป็นอันดับ 3 รองจากโรคสมาธิสั้น และปัญหาพฤติกรรมดื้อรั้นโดยพบในเด็กผู้ชายมากกว่าหญิง
อัตรา 7 ต่อ 1 อายุน้อยสุด 5 ขวบ มากสุด 17 ปี เด็กที่ป่วยใช้เวลาเล่นเกมเฉลี่ยวันละ 5 ชม.
อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าวถึงผลการศึกษาของทีมจิตแพทย์เด็กฯ ที่ตรวจรักษาเด็ก 6-17 ปี ที่ป่วยเป็นโรคติดเกมว่า จะพบร่วมกับโรคทางจิตเวชอื่นๆ ด้วยถึง 3-8 โรค มากที่สุดคือโรคสมาธิสั้น พบทุกวัย ร้อยละ 77 เด็กจะวู่วาม อดทนต่ำ อันดับ 2 โรคซึมเศร้า ร้อยละ 39 อันดับ 3 โรควิตกกังวล ร้อยละ 38 อันดับ 4 เด็กมีปัญหาการเรียนรู้ การเขียนการอ่านจะด้อยกว่าเด็กรุ่นเดียวกัน 2 ชั้นปี พบได้ร้อยละ 35 โดยในกลุ่มอายุ 13-17 ปี จะพบโรคทางจิตเวชร่วมมากถึง 8 โรค ได้แก่ สมาธิสั้น, ปัญหาการเรียนรู้, โรควิตกกังวลกลัวเข้าสังคม, โรคย้ำคิดย้ำทำ, ซึมเศร้า, โรคอารมณ์ 2 ขั้ว, โรคจิต, หวาดระแวง, และโรคลมชักด้วย
"การติดเกมจะขัดขวางพัฒนาการด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม เกิดผลเสียกับเด็กทั้งบุคลิกภาพ, ความคิด, การเรียน การทำงาน เป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก ทุกฝ่าย ทั้งครอบครัว โรงเรียน และสังคม ต้องเร่งป้องกันแก้ไขก่อนสายเกินแก้ มิฉะนั้น เด็กและเยาวชนไทยที่มีไอคิวดี อาจกลายเปนทรัพยากรบุคคลที่มีสมรรถนะเสื่อมถอยเรียนไม่ได้, และเกมจะกลายเป็นต้นตอสำคัญของการป่วยโรคจิตเวชคนรุ่นใหม่" อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
ด้าน พญ. วิมลรัตน์ วันเพ็ญ รอง ผอ. สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่าในปี 2559 คาดว่ามีเด็กไทยเข้าข่ายติดเกมส์แล้วแต่ยังไม่ถึงขั้นป่วยประมาณ 1.6 ล้านคน ผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาจากการเล่นเกมส์ออนไลน์พบว่า เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายตัวเอง, ทำร้ายพ่อแม่, ทำลายข้าวของ ร้อยละ 42 ไม่ไปโรงเรียน ร้อยละ 39 พยายามฆ่าตัวตาย ฆ่าเพื่อน พบร้อยละ 2 ที่รุนแรงคือหนีออกจากบ้านและออกจากการศึกษาภาคบังคับ เริ่มพบร้อยละ 4 สาเหตุหลักเกิดจากการเลี้ยงดูเด็กที่ไม่เหมาะสมของครอบครัว เช่น ขาดวินัย
ทั้งนี้ เด็กที่เป็นโรคติดเกมจะมีอาการสำคัญคือ เล่นเกมมาก หงุดหงิดถ้าไม่ได้เล่น มีปัญหาการเรียน ซึมเศร้า, กังวล, ก้าวร้าวไม่ฟังใคร, การดูแลรักษาจะใช้หลายวิธีร่วมกัน ทั้งใช้ยา การบำบัดจิตใจ พฤติกรรมบำบัดครอบครัวด้วย และติดตามเยี่ยมบ้าน ค่ารักษาโรคติดเกมขั้นต่ำประมาณ 50000 บาท จนถึง 250000 บาทต่อคนต่อปี ใช้เวลาการรักษานานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาป่วยด้วย
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
- ติดเกม ภาษาอังกฤษ คือ Game addicted
- ก้าวร้าว ภาษาอังกฤษ คือ Aggressive, Offensive, Bellicose, Truculent, Outrage, Assail
- โรคอารมณ์ 2 ขั้ว ภาษาอังกฤษ คือ Bipolar disorder
- โรคลมชัก หรือ โรคลมบ้าหมู ภาษาอังกฤษ คือ Epilepsy
- โรคย้ำคิดย้ำทำ ภาษาอังกฤษ คือ Obsessive–compulsive disorder หรือ OCD
- สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ (สจร.) ภาษาอังกฤษ คือ CHILD AND ADOLESCENT MENTAL HEALTH FOUNDATION