กริยาวิเศษณ์ (Adverbs)
ใช้สำหรับขยายกริยา คุณศัพท์ และกริยาวิเศษณ์ด้วยกัน มีอยู่ 7 ชนิดค่ะ แต่บางตำราอาจบอกมากกว่านี้ แต่ถ้าดูจากการใช้งานแล้วนั้น จะนำมาใช้อยู่ 7 ลักษณะครับ คือ
1. วิเศษณ์บอกอาการกริยา (Adverb of Manner)
ใช้เพื่อบอกประกอบกับอากัปกริยาที่แสดงออก โดยเน้นให้เห็นถึงสภาพของการกระทำนั้นๆ มากยิ่งขึ้น ได้แก่
Slowly อย่างช้าๆ Quickly อย่างรวดเร็ว
Joyfully อย่างร่าเริง Fast อย่างเร็ว
Promptly อย่างทันทีทันใด Carefully อย่างระมัดระวัง
คำกริยาวิเศษณ์ชนิดนี้มักจะลงท้ายด้วย ly
ตัวอย่างประโยค
She walks slowly. เธอเดินช้า
He runs so fast. เขาวิ่งเร็วมาก
2. กริยาวิเศษณ์บอกเวลา (Adverb of Time)
ใช้เพื่อบอกลำดับขั้นของเหตุการณ์ หรือ จุดของเวลาที่เกิดกิจกรรมนั้นๆ อาจใช้กับลักษณะของบุพบท จะเป็นการขยายกริยาตัวหน้าและมักตามด้วยประโยค ได้แก่
เมื่อไร (When) : today (วันนี้), yesterday (เมื่อวานนี้), later (ต่อมา), now (ตอนนี้), last year (ปีที่แล้ว), after (หลังจาก), soon (ไม่นานนี้), before (ก่อน), sometime (ขณะใดขณะหนึ่งในอดีต อนาคต), immediately (ทันทีทันใด), recently (เร็วๆ นี้), early (แต่ก่อน)
นานแค่ไหน (For how long) : all day (ทั้งวัน), for a while (ชั่วครู่), since last year (ตั้งแต่ปีที่แล้ว), temporarily (ชั่วคราว), briefly (ชั่วครู่), till, until (จนกระทั่ง)
บ่อยแค่ไหน (How often) : Sometimes (บางครั้ง บางคราว), frequently (บ่อยๆ), never (ไม่เคย), often (บ่อย), always (เป็นประจำ), monthly (ประจำเดือน)
ตัวอย่างประโยค
She brushes her teeth after finish eating a meal.
เธอแปรงฟันหลังทานอาหาร
ถ้าเป็นคำบุพบทก็จะถูกใช้ในลักษณะดังต่อไปนี้
I will see you after five o'clock. ฉันจะพบกับคุณหลัง 5 โมง
I talked to him yesterday. ฉันคุญกับเขาแล้วเมื่อวาน
I finished this two hours ago. ฉันทำงานนี้เสร็จแต่เมื่อสองชั่วโมงที่แล้ว
I went out to the pub last night. ฉันออกไปเที่ยวผับเมื่อคืนวาน
3. วิเศษณ์บอกสถานที่ (Adverb of Place)
วิเศษณ์บอกสถานที่ เป็นการขยายนามหรือกริยาเพื่อบอกสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเกิดในลักษณะไหน เช่น
Here ที่นี่ there ที่นั่น
up ข้างบน down ข้างล่าง
around รอบๆ somewhere ที่ไหนสักแห่ง
near ใกล้ๆ
ตัวอย่างประโยค
I will be waiting here. ฉันจะรออยู่ที่นี่
Are you going up or down? คุณจะขึ้นไปข้างบน หรือ ลงข้างล่างไหม
บางทีอาจจะใช้คล้ายกับบุพบทด้วยเช่นกัน
4. วิเศษ๋ณ์บอกการยอมรับ (Adverb of Affirmation)
ได้แก่
Assuredly อย่างแน่นอน
Certainly อย่างแน่นอน
Yes จ๊ะ หรือ ครับ หรือ ค่ะ แสดงการยอมรับ
ตัวอย่างประโยค
Do you understand Spanish?
คุณเข้าใจภาษาสเปนใช่ไหม?
Yes, I do.
ค่ะ ฉันเข้าใจ
Are you going out with us?
เธอจะออกไปข้างนอกกับเราไหม?
Certainly.
แน่นอน
5. วิเศษณ์บอกปฏิเสธ (Adverb of Negation)
คือ ถ้าเป็นในภาษาไทยก็จะใช้คำว่า ไม่ แล้วเติมลงไปหน้ากริยา เช่น ไม่กิน, ไม่เที่ยว, ไม่ดื่ม ซึ่งในภาษาอังกฤษก็จะมีคำคล้ายๆ กันก็คือ no, not
ตัวอย่างประโยค
I never eat Thai Food. ฉันไม่เคยทานอาหารไทย
No, I'm not. ไม่ ฉันไม่เป็น
None of them can speak Chinese. ไม่มีเด็กคนใดพูดภาษาจีนได้
6. วิเศษณ์บอกความสม่ำเสมอ (Adverb of Number หรือ Frequency)
ใช้ในการบอกความสม่ำเสมอในการทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง เพื่อเน้นย้ำความหมายลงไปว่าสิ่งนี้ หรือสิ่งนั้นถูกทำบ่อยแค่ไหน หรือไม่ได้ทำนานแค่ไหน คำในกลุ่มที่ถูกพบบ่อยก็ได้แก่
Once ครั้งหนึ่งหรือครั้งเดียว
Thrice สามครั้ง
Often บ่อยๆ
Seldom ไม่ค่อยจะ
Usually ตามปกติ
Twice สองครั้ง
Always เสมอๆ
Sometimes บางครั้งบางคา
Generally โดยทั่วๆไป
Hardly ever แทบจะไม่
เมื่อลองทำเป็นประโยคจะเห็นง่ายขึ้นน่ะค่ะ เช่น
I sometimes forget date and time.
บางครั้งฉันก็หลงวันเวลา
She goes to spa twice a week.
เธอไปสปา 2 ครั้งต่อสัปดาห์
I've done it once.
ฉันเคยทำมันแล้วครั้งนึง
7. กริยาวิเศษณ์บอกปริมาณมากน้อย ได้แก่
no ไม่มี
More มากกว่า
Many มาก
Very มาก
Too มากเกินไป
Any บ้าง
Much มาก
Quite ทั้งหมด
ตัวอย่างประโยค
This exam is very difficult.
การสอบครั้งนี้ยากมากๆ
I hate you so much.
ฉันเกลียดคุณมากๆ เลย