เรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Pronunciation ตอนที่ 1
ถาม : Pronunciation คืออะไร มีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง
ตอบ : Pronunciation หมายถึง “การออกเสียงคำอ่านหนัก-เบา”
ในภาษาอังกฤษนั้นการออกเสียงคำศัพท์ หรือคำอ่านถือเป็นเรื่องสำคัญมากอย่าได้คิดว่ารู้แต่หลักไวยากรณ์ (grammar) ความหมาย (meaning) และวิธีใช้ (usage) ก็ถือว่า “สำเร็จกิจขั้นสูงสุดทางการเรียนภาษาอังกฤษแล้ว” อะไรทำนองนี้หาได้ไม่ ยัง........เรายังต้องมาศึกษาถึงกลไกการออกเสียงคำอ่านเสียก่อนว่า คำนั้น ชนิดนั้น กลุ่มนั้น เมื่อนำมาอ่านหรือพูดจะออกเสียงอย่างไร หนักเบา ตรงไหน สิ่งเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ศึกษาภาษาอังกฤษ ต้องเรียนรู้ควบกันไปด้วย
หากจะนำหลักการออกเสียงหนักเบามากล่าวอย่างบริบูรณ์จริงๆ แล้ว คงต้องทำเป็นตำราเล่มขนาดมหึมา เลยทีเดียว ดังนั้น บทเรียนเกี่ยวกับการออกเสียง จะขอกล่าวถึงเฉพาะ “หลักทั่วไป” ของการออกเสียงเพื่อเป็นรากฐานเบื้องต้นให้กับผู้ศึกษาเท่านั้น ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1.) คำที่มี 2 พยางค์ โดยทั่วไปให้เข้าใจไว้ก่อนว่า ต้องออกเสียงหนัก (stress) ที่พยางค์แรก เช่น
ข้อยกเว้น :
(a) คำ 2 พยางค์ต่อไปนี้ ให้ออกเสียงหนัก (stress) ที่พยางค์หลัง ได้แก่
(b) คำ 2 พยางค์ ซึ่งนำหน้าด้วย prefix (หรือคล้าย prefix) ให้ออกเสียงหนักที่พยางค์หลัง ได้แก
2) คำ 3 พยางค์โดยทั่วไปให้เข้าใจไว้ก่อนว่า ออกเสียงหนักที่พยางค์แรกเสมอ ได้แก่
(a) คำต่อไปนี้ออกเสียนงหนัก (stress) พยางค์ที่ 2 ได้แก่ :
4) คำตั้งแต่ 4 พยางค์ต่อไปนี้ บางคำก็ออกเสียงหนัก (stress) ที่พยางค์ที่ 1 บางคำ ก็พยางค์ที่ 2 และบางคำก็ที่ 3 หรือที่ 4 ซึ่งอันนี้นักศึกษาต้องสังเกตและจดจำเอาไว้ ได้แก่
หมายเหตุ : การออกเสียงหนัก-เบาตามกฎข้อที่ 4 นี้ ควรดูจาก dictionary เป็นดีที่สุด
5) คำ 2 พยางค์หรือ 3 พยางค์ต่อไปนี้ เมื่อออกเสียงหนักที่พยางค์แรกจะเป็นนาม (noun) ออกเสียนงหนักที่พยางค์สุดท้ายจะเป็นกริยา (verb) ได้แก่คำ
ข้อยกเว้น : คำ 2 พยางค์ต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็น noun หรือ verb ออกเสียนงหนักเหมือนกัน ได้แก่
ถาม : Pronunciation คืออะไร มีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง
ตอบ : Pronunciation หมายถึง “การออกเสียงคำอ่านหนัก-เบา”
ในภาษาอังกฤษนั้นการออกเสียงคำศัพท์ หรือคำอ่านถือเป็นเรื่องสำคัญมากอย่าได้คิดว่ารู้แต่หลักไวยากรณ์ (grammar) ความหมาย (meaning) และวิธีใช้ (usage) ก็ถือว่า “สำเร็จกิจขั้นสูงสุดทางการเรียนภาษาอังกฤษแล้ว” อะไรทำนองนี้หาได้ไม่ ยัง........เรายังต้องมาศึกษาถึงกลไกการออกเสียงคำอ่านเสียก่อนว่า คำนั้น ชนิดนั้น กลุ่มนั้น เมื่อนำมาอ่านหรือพูดจะออกเสียงอย่างไร หนักเบา ตรงไหน สิ่งเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ศึกษาภาษาอังกฤษ ต้องเรียนรู้ควบกันไปด้วย
1.) คำที่มี 2 พยางค์ โดยทั่วไปให้เข้าใจไว้ก่อนว่า ต้องออกเสียงหนัก (stress) ที่พยางค์แรก เช่น
Table
|
เทโบล
|
Window
|
วิ้นโด
|
Money
|
มันนี
|
Father
|
ฟาเธอะ
|
Brother
|
บรัดเธอะ
|
Country
|
คันทริ
|
Pencil
|
เพ็นซิล
|
Student
|
สติวเดนท์
|
Etc.
|
Etc.
|
ข้อยกเว้น :
(a) คำ 2 พยางค์ต่อไปนี้ ให้ออกเสียงหนัก (stress) ที่พยางค์หลัง ได้แก่
Hotel
|
โฮเทล
|
Canal
|
เค่อะแน่ล
|
Police
|
เฟอะลี้ซ
|
Cadet
|
เค่อะเดท
|
Arcade
|
อาเคด
|
Encase
|
เอ็นเคส
|
Etc.
|
Etc.
|
Admit
|
เอิดมิท
|
อนุญาต
|
Deny
|
ดินาย
|
ปฏิเสธ
|
Prepare
|
พริแพร์
|
เตรียม
|
Arrive
|
เออะไร้ฟว์
|
มาถึง
|
Unwise
|
อันวายซ์
|
ไม่ฉลาด
|
Expense
|
เอกซเพ้นซ์
|
แพง
|
Belong
|
บิลอง
|
เป็นของ
|
Success
|
ซัคเซ้ส
|
ความสำเร็จ
|
2) คำ 3 พยางค์โดยทั่วไปให้เข้าใจไว้ก่อนว่า ออกเสียงหนักที่พยางค์แรกเสมอ ได้แก่
Property
|
พร้อพเพอะที
|
สมบัติ
|
Illustrate
|
อิลลัสสเตรท
|
แสดงด้วยภาพ
|
Fertilize
|
เฟอทิไลซ์
|
ทำให้อุดมสมบูรณ์
|
Healthiness
|
เฮ็ลธิเนสส์
|
มีสุขภาพดี
|
Advertise
|
แอดเวอะท่ายส์
|
โฆษณา
|
Handkerchief
|
แฮ้งเคอะชีฟ
|
ผ้าเช็ดหน้า
|
Saxophone
|
แซ็คโซโฟน
|
เครื่องดนตรี
(ชนิดหนึ่ง)
|
Murderer
|
เมอเดอะเรอะ
|
ฆาตรกร
|
ข้อยกเว้น : ถ้าเป็นคำ 3 พยางค์ต่อไปนี้ให้ออกเสียงหนักที่พยางค์ที่ 2 คือ
(a) คำต่อไปนี้ออกเสียนงหนัก (stress) พยางค์ที่ 2 ได้แก่ :
Committee
|
คอมมิทที
|
คณะกรรมการ
|
Abandon
|
เออะแบ๊นเดิ้น
|
ยกเลิก,ยอมแพ้
|
Already
|
ออลเร็ดดี้
|
เรียบร้อยแล้ว
|
Examine
|
เอกแซมไมน์
|
ตรวจ
|
Convenient
|
คันวีเนียนท์
|
สะดวก
|
Convention
|
คอนเว็นชั่น
|
อนุสัญญา
|
Promotion
|
โพรโมชั่น
|
การส่งเสริม
|
Etc.
|
(b) คำ 3 พยางค์ต่อไปนี้ ซึ่งพยางค์แรกเป็นคำ prefix ไม่ออกเสียงหนัก คงออกเสียงหนักของพยางค์ต่อไป ได้แก่
Contribute
|
คอนทริ๊บบิวท
|
ให้,
ช่วยเหลือ
|
Accomplish
|
แอ๊คคอมพลีช
|
ทำให้สำเร็จ
|
Envelop
|
เอ็นเว้ลเลิฟ
|
ปิดล
ห่อ
|
Attribute
|
แอ๊ททริบบิวท
|
คุณสมบัติ,ผู้อยู่ในอุปการะ
|
Develop
|
ดิเว้ลเลิฟ
|
ทำให้เจริญ
|
Inhuman
|
อินฮิวมัน
|
ทารุณ
|
Grammarian
|
แกรมม่าเรียน
|
นักไวยากรณ์
|
Etc.
|
3) คำ 4 พยางค์ต่อไปนี้ออกเสียนงหนักพยางค์ที่ 2 นับจากข้างหน้า (ตามกฎข้อที่ 3 นี้ มีคำศัพท์เป็นจำนวนมากหลายพันคำ ไม่สามารถนำมาอธิบายไว้ได้หมด แต่จะยกตัวอย่างพอเป็นแนวทางเท่านั้น
Philosophy
|
ฟิล้อสเซ่อะฟิ
|
ปรัชญา
|
Democracy
|
ดิม้อคเครอซี
|
ประชาธิปไตย
|
Photographer
|
เฟอท้อกเกรอะเฟอะ
|
ช่างภาพ
|
Credulity
|
คริดิวลิทิ
|
ความหูเบา,
เชื่อง่าย
|
Corruptible
|
คอรัพทิบึล
|
ทำให้เลวลงได้
|
Unquestionable
|
อันเคว็สชันนะบึล
|
ไม่ต้องสงสัย
|
Unmannerly
|
อันแมนเนอลี
|
กิริยาเลว
|
Speedometer
|
สปิด้อมมิเทอะ
|
เครื่องวัดความเร็ว
|
Orientation
|
โอเรียนเทชั่น
|
การทำตนให้เป็นชาวตะวันตก
|
Organization
|
ออกะไนเซชัน
|
การจัดองค์การ
|
Defensible
|
ดิเฟ็นซิบึล
|
ซึ่งอาจป้องกันได้
|
Deformation
|
ดิฟอเมชัน
|
การทำให้เสียรูป
|
Popularize
|
พ็อพพิลแลไรซ
|
ทำให้เป็นที่รักของคนทั่วไป
|
Gratification
|
แกรททิฟิเคชัน
|
การทำให้พอใจ
|
Excellency
|
เอ็คซึลึนซิ
|
ตำแหน่งมีเกียรติสูง
|
Comparative
|
คัมแพระทีพว
|
ที่เปรียบเทียบขั้นกว่า
|
Suffocation
|
ซัฟโฟเคชัน
|
การหายใจไม่ออก
|
Etc.
|
หมายเหตุ : การออกเสียงหนัก-เบาตามกฎข้อที่ 4 นี้ ควรดูจาก dictionary เป็นดีที่สุด
5) คำ 2 พยางค์หรือ 3 พยางค์ต่อไปนี้ เมื่อออกเสียงหนักที่พยางค์แรกจะเป็นนาม (noun) ออกเสียนงหนักที่พยางค์สุดท้ายจะเป็นกริยา (verb) ได้แก่คำ
Noun
|
Verb
|
|
Present
|
แนะนำ,มอบให้
|
Present
|
Detail
|
รายละเอียด
|
Detail
|
Import
|
สินค้าขาเข้า
|
Import
|
Export
|
สินค้าขาออก
|
Export
|
Permit
|
อนุญาต
|
Permit
|
Object
|
คัดค้าน
|
Object
|
Progress
|
ก้าวหน้า
|
Progress
|
Contest
|
แข่งขัน
|
Contest
|
Record
|
บันทึก
|
Record
|
Contract
|
สัญญา
|
Contract
|
Subject
|
สิ่งของ
|
Subject
|
Produce
|
ผลิต
|
Produce
|
Survey
|
สำรวจ
|
Survey
|
Pronounce
|
ออกเสียง
|
Pronounce
|
Protest
|
คัดค้าน
|
Protest
|
Contrast
|
ขัดกัน
|
Contrast
|
Discount
|
ส่วนลด
|
Discount
|
Extract
|
วิเคราะห์
|
Extract
|
Reprint
|
พิมพ์ซ้ำ
|
Reprint
|
ข้อยกเว้น : คำ 2 พยางค์ต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็น noun หรือ verb ออกเสียนงหนักเหมือนกัน ได้แก่
Contract
|
ติดต่อ
|
Report
|
รายงาน
|
Dispute
|
ทะเลาะขัดแย้ง
|
Process
|
ดำเนินงาน
|
Interview
|
สัมภาษณ์
|
Purchase
|
ซื้อ
|