4. สกรรมกริยา (Transitive Verbs)
อันนี้ในภาษาไทยก็มีครับ ผมขอเรียกเป็นชื่อง่ายๆ ที่เข้าใจกันได้ก็คือ กริยาที่ต้องการกรรมมารับ ลักษณะเหมือนภาษาไทยเลยครับ ถ้าเป็นในภาษาไทยเราก็อาจพูดคำว่า ฉันอ่าน ถ้าไม่มีกรรมมารองรับเราก็จะไม่รู้อยู่ดีว่า อ่านอะไร ถ้าดูในภาษาอังกฤษก็เช่นกันครับ ตัวอย่าง เช่น
She is wearing a red shirt
เธอสวมเสื้อเชิ้ตสีแดง
ให้สังเกตว่าถ้าเราไม่มีกรรมอย่าง a red shirt มารับ เราก็จะไม่สามารถเข้าใจได้ว่า เธอสวมอะไรอยู่กันแน่
ลองดูอีกตัวอย่างหนึ่งก็แล้วกันน่ะ
Dusit does his homework
ดุสิตทำการบ้านของเขา
5. อกรรมกริยา (Intransitive Verbs)
ในกลุ่มนี้ก็จะตรงข้ามกับกลุ่มที่แล้วเลยครับ ถ้าจะเรียกง่ายๆ ก็คงต้องใช้ว่า กริยาที่ไม่ต้องการกรรมมารับ คำพวกนี้แม้ประโยคมีแค่ ประธาน กับ กริยา ก็มีใจความสมบูรณ์แล้วครับ เช่น
I walk. ฉันเดิน
A monkey died. ลิงตาย
การใช้ Verb น่ะครับ เป็นสิ่งที่มีปัญหาพอสมควร แต่ไม่ใช่เรื่องการวางตำแหน่งของกริยาหรอกน่ะครับ แต่เป็นปัญหาเรื่องการผัน และการเลือกใช้คำต่างๆ เสียมากกว่า ก็เลยจะนำเรื่องการผัน Verb มาให้ลองอ่านทบทวนกันดู
การผันกริยาในภาษาอังกฤษนั้นมีหลายวิธีในรูปประโยคต่างๆกัน แต่เมื่อนำมารวบรวมดูแล้ว การผันนั้นก็มีด้วยกันอยู่ 3 ลักษณะใหญ่ได้แก่
1. ผันรูป Present Simple
ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับ ว่าเป็นการผันรูปกริยาเพื่อใช้กับประโยค Present Simple โดยเฉพาะ โดยการผันกริยาในรูปแบบบนี้นั้น จะถูกนำไปใช้ในประโยคที่มีประธานเป็นเอกพจน์ (ผู้อ่านจะได้ทำความรู้จักกับรูปประโยคในเนื้อหาต่อๆไปครับ)
ลักษณะการเปลี่ยนกริยาตามกลุ่มประโยค Present Simple
กลุ่มที่ 1 กริยาทั่วไปที่ไม่ลงท้ายด้วยสระ 0 เติม s ได้ทันที
เช่น eat, show, hate, love, collect เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 กริยาที่ลงท้ายด้วยสระ 0,s, sh, ch, x, z เติม es
เช่น go, teach, fix, kiss
กลุ่มที่ 3 กริยาลงท้ายด้วย y ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es
เช่น shy, cry
ในการเปลี่ยนกริยาตามกลุ่มประโยคในลักษณะนี้นั้น จะเติม s หรือ es ที่กริยาก็ต่อเมื่อประธานเป็นคำนามเอกพจน์ หรือเป็นสรรพนามเอกพจน์บุรุษที่สาม
อันนี้ในภาษาไทยก็มีครับ ผมขอเรียกเป็นชื่อง่ายๆ ที่เข้าใจกันได้ก็คือ กริยาที่ต้องการกรรมมารับ ลักษณะเหมือนภาษาไทยเลยครับ ถ้าเป็นในภาษาไทยเราก็อาจพูดคำว่า ฉันอ่าน ถ้าไม่มีกรรมมารองรับเราก็จะไม่รู้อยู่ดีว่า อ่านอะไร ถ้าดูในภาษาอังกฤษก็เช่นกันครับ ตัวอย่าง เช่น
She is wearing a red shirt
เธอสวมเสื้อเชิ้ตสีแดง
ให้สังเกตว่าถ้าเราไม่มีกรรมอย่าง a red shirt มารับ เราก็จะไม่สามารถเข้าใจได้ว่า เธอสวมอะไรอยู่กันแน่
ลองดูอีกตัวอย่างหนึ่งก็แล้วกันน่ะ
Dusit does his homework
ดุสิตทำการบ้านของเขา
5. อกรรมกริยา (Intransitive Verbs)
ในกลุ่มนี้ก็จะตรงข้ามกับกลุ่มที่แล้วเลยครับ ถ้าจะเรียกง่ายๆ ก็คงต้องใช้ว่า กริยาที่ไม่ต้องการกรรมมารับ คำพวกนี้แม้ประโยคมีแค่ ประธาน กับ กริยา ก็มีใจความสมบูรณ์แล้วครับ เช่น
I walk. ฉันเดิน
A monkey died. ลิงตาย
การใช้ Verb น่ะครับ เป็นสิ่งที่มีปัญหาพอสมควร แต่ไม่ใช่เรื่องการวางตำแหน่งของกริยาหรอกน่ะครับ แต่เป็นปัญหาเรื่องการผัน และการเลือกใช้คำต่างๆ เสียมากกว่า ก็เลยจะนำเรื่องการผัน Verb มาให้ลองอ่านทบทวนกันดู
การผันกริยาในภาษาอังกฤษนั้นมีหลายวิธีในรูปประโยคต่างๆกัน แต่เมื่อนำมารวบรวมดูแล้ว การผันนั้นก็มีด้วยกันอยู่ 3 ลักษณะใหญ่ได้แก่
1. ผันรูป Present Simple
ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับ ว่าเป็นการผันรูปกริยาเพื่อใช้กับประโยค Present Simple โดยเฉพาะ โดยการผันกริยาในรูปแบบบนี้นั้น จะถูกนำไปใช้ในประโยคที่มีประธานเป็นเอกพจน์ (ผู้อ่านจะได้ทำความรู้จักกับรูปประโยคในเนื้อหาต่อๆไปครับ)
ลักษณะการเปลี่ยนกริยาตามกลุ่มประโยค Present Simple
กลุ่มที่ 1 กริยาทั่วไปที่ไม่ลงท้ายด้วยสระ 0 เติม s ได้ทันที
เช่น eat, show, hate, love, collect เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 กริยาที่ลงท้ายด้วยสระ 0,s, sh, ch, x, z เติม es
เช่น go, teach, fix, kiss
กลุ่มที่ 3 กริยาลงท้ายด้วย y ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es
เช่น shy, cry
ในการเปลี่ยนกริยาตามกลุ่มประโยคในลักษณะนี้นั้น จะเติม s หรือ es ที่กริยาก็ต่อเมื่อประธานเป็นคำนามเอกพจน์ หรือเป็นสรรพนามเอกพจน์บุรุษที่สาม